เมนู

อรรถกถาอุฏฐานสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอุฏฐานสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บุคคลจำพวกหนึ่ง ใช้วันเวลาให้ล่วงไป ด้วยความเพียรคือความหมั่น
เท่านั้น ได้อะไรมาเพียงเป็นผลของความเพียรนั้น ที่หลั่งออกมาเลี้ยงชีวิต
เขาอาศัยแต่ความหมั่นนั้น ไม่ได้ผลบุญอะไร บุคคลจำพวกนี้ ชื่อว่าดำรงชีพ
อยู่ด้วยผลของความหมั่น มิใช่ดำรงอยู่ด้วยผลของกรรม.
ส่วนเหล่าเทวดา
แม้ทั้งหมด ตั้งแต่เทวดาชั้นจาตุมมหาราชเป็นต้นไป เพราะเข้าไปอาศัยผลบุญ
ดำรงชีพ เว้นความเพียรคือความหมั่น ชื่อว่าดำรงชีพอยู่ด้วยผลของกรรม
มิใช่ดำรงชีพอยู่ด้วยผลของความหมั่น.
อิสระชนมีพระราชามหาอำมาตย์
ของพระราชาเป็นต้น ชื่อว่าดำรงชีพอยู่ด้วยผลของความหมั่น และดำรง
ชีพอยู่ด้วยผลของกรรม.
พวกสัตว์นรกดำรงชีพอยู่ด้วยผลของความหมั่น
ก็มิใช่ ด้วยผลของกรรมก็มิใช่. ผลบุญนั่นแล ท่านประสงค์ว่าผลของกรรม
ในสูตรนี้ ผลบุญนั้นไม่มีแก่พวกสัตว์นรกเหล่านั้น.
จบอรรถกถาอุฏฐานสูตรที่ 4

5. สาวัชชสูตร


ว่าด้วยบุคคล 4 จำพวก


[135] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
4 จำพวกเป็นไฉน คือ
สาวชฺโช บุคคลมีโทษ
วชฺชพหุโล บุคคลมีโทษมาก
อปฺปวชฺโช บุคคลมีโทษน้อย
อนวชฺโช บุคคลไม่มีโทษ

บุคคลมีโทษเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกาย-
กรรมอันมีโทษ วจีกรรมอันมีโทษ มโนกรรมอันมีโทษ อย่างนี้แล บุคคล
มีโทษ

บุคคลมีโทษมากเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วย
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีโทษเป็นส่วนมาก ที่ไม่มีโทษเป็น
ส่วนน้อย อย่างนี้แล บุคคลมีโทษมาก
บุคคลมีโทษน้อยเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วย
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันไม่มีโทษเป็นส่วนมาก ที่มีโทษเป็น
ส่วนน้อย อย่างนี้แล บุคคลมีโทษน้อย
บุคคลไม่มีโทษเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วย
กายกรรมอันไม่มีโทษ วจีกรรมอันไม่มีโทษ มโนกรรมอันไม่มีโทษ อย่าง
นี้แล บุคคลไม่มีโทษ.
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคล 4 จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.
จบสาวัชชสูตรที่ 5

อรรถกถาสาวัชชสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสาวัชชสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
คนจำพวกที่หนึ่ง ได้แก่ ปุถุชนคนโง่เขลา จำพวกที่สอง ได้แก่
โลกิยปุถุชนผู้บำเพ็ญกุศลในระหว่าง ๆ จำพวกที่สาม ได้แก่ พระโสดาบัน ถึง
พระสกทาคามีและอนาคามี ก็รวมกับคนจำพวกที่สามนั้นเหมือนกัน จำพวก
ที่สี่ ได้แก่พระขีณาสพ จริงอยู่ พระขีณาสพนั้น หาโทษมิได้โดยส่วนเดียว.
จบอรรถกถาสาวัชชสูตรที่ 5